สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
การเรียนการสอน
- วางแผนดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพอาหารและโภชนาการตามหลักการและกระบวนการ
- เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
- สื่อสาร หาความรู้เสริมสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างภาษากับเทคนิคในงานอาชีพ
- ประยุกต์ใช้งานศิลปะและเทคโนโลยีในการออกแบบและจัดตกแต่งอาหารบรรจุภัณฑ์อาหาร ให้เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์ ตามหลักการและกระบวนการ
- เลือกใช้และบริหารจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ
- ประกอบอาหารตามตำรับ และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามกระบวนการและตามหลักโภชนาการ
- ออกแบบ จัดตกแต่งอาหารและบรรจุภัณฑ์อาหาร บริการอาหาร เครื่องดื่ม และจัดจำหน่าย
- จัดเก็บ ทำความสะอาด และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการเตรียม และประกอบอาหาร
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้ช่วยโภชนากร ผู้ช่วยนักวิชาการโภชนาการ ผู้ช่วยกุ๊ก รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย พนักงานขายเกี่ยวกับอาหาร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการผลิตที่เกี่ยวกับอาหาร วัตถุดิบทางการเกษตร พนักงานโรงแรม – ห้องอาหาร ฯลฯ
รายได้ (เริ่มต้น)
- ภาครัฐ 6,000 – 8,000 บาท
- ภาคเอกชน 7,000 – 9,000 บาท
- อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์
การศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)
รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า
การเรียนการสอน
- วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ปฏิบัติงานอาชีพตามหลักการและแบบแผนที่กำหนด โดยใช้ / เลือกใช้ / ปรับใช้ กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
- เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
- แสดงความรู้ในหลักการทฤษฎีของสาขาวิชาอาหารและโภชนาการอย่างกว้างขวาง
- ใช้หลักการจัดการและกระบวนการ วางแผน ดำเนินงาน จัดการงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการ
- ประกอบอาหาร แปรรูปอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักโภชนาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์
- ประยุกต์ใช้อุปกรณ์เครื่องมือและบำรุงรักษาพื้นที่สำหรับผลิตอาหาร โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
- ดูแลรักษาและเสริมสร้างสุขอนามัยในการจัดเตรียม ประกอบ เก็บรักษาควบคุมคุณภาพอาหารตามมาตรฐานสากล
- ระยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านอาหารและโภชนาการ
- บริหารจัดการ ประสานงานและประเมินผลการปฏิบัติงานอาชีพด้านอาหารและโภชนาการด้วยตนเอง
- วางแผน ออกแบบ ประกอบ และควบคุมคุณภาพอาหารตามหลักการและกระบวนการ
- ประกอบอาหารเพื่อการดำเนินธุรกิจตามหลักการและกระบวนการ
- เลือกใช้และหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารตามหลักการและกระบวนการ
แนวทางการประกอบอาชีพ
โภชนากร กุ๊ก ผู้ช่วยเชฟ รับราชการส่งเสริมการเกษตร พนักงานโรงแรมและร้านอาหาร ประกอบธุรกิจส่วนตัว ฯลฯ
รายได้ (เริ่มต้น)
- ภาครัฐ 8,000 – 15,000 บาท
- ภาคเอกชน 9,000 – 18,000 บาท
- อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์
การศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)
ครูผู้สอน
Teachers
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
- ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
- วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
- จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
- สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
- ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
- ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
- ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
- ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
- ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
- จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
- ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย